ว่าวจุฬาเป็นว่าวรูปดาวหัวแฉก สันนิฐานว่าได้อิทธิพลมาจากว่าวรูปดาวของอินเดีย แต่เดิมเรียกว่า “ว่าวกุลา” ว่าวจุฬาเป็นที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ ไม้ทำโครงทำจากไม้ไผ่ซีกหนา 5 อัน คือ ไม้อก 1 อัน ไม้ปีก 2 อัน ไม้ขากบ 2 อัน ไม้ทั้ง 5 อันต้องเหลาให้เรียว ว่าวจุฬาได้ชื่อว่าเป็นว่าที่ทำยาก ต้องใช้ความชำนาญและความประณีตในการทำมาก ถ้าทำโครงว่าวไม่ได้ส่วนจะบังคับไปในทิศทางที่ต้องการได้ยาก เครื่องประกอบว่าวจุฬาอีกอย่างหนึ่ง คือ ป่าน ป่านที่เหมาะกับว่าวจุฬาคือป่านสี่เกลียวซึ่งมีความเหนียวคงทน ว่าวการแข่งขันเพื่อการพนันในสนาม แต่ละฝ่ายต้องเตรียมอาวุธไว้ต่อสู้กัน ว่าวปักเป้ามีเหนียงเป็นอาวุธ ว่าวจุฬามีลูกดิ่งและจำปาเป็นอาวุธ การทำเหนียงและลูกดิ่งจะต้องศึกษาเป็นกรณีพิเศษ
และรูปทรงตามต้องการ การประกอบส่วนต่างๆ ของหน้ากากนั้น ส่วนหัว หน้าและเขาก็จะใช้เชือกเย็บติดเข้าด้วยกัน ส่วนจมูกจะยึดติดกับหน้ากาก โดยจะใช้ตะปูตียึดจากด้านใน การตกแต่งลวดลายต่างๆในปัจจุบันนิยมใช้สีน้ำมัน ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีสีน้ำมัน จะใช้สีจากธรรมชาติ
เช่น ขมิ้น ปูนขาว ขี้เถ้า ปูนแดง เขม่าไฟ เมื่อตกแต่งลวดลายเสร็จแล้ว ด้านหลัง จะใช้เศษผ้าเย็บต่อจากหน้ากากและหวด
ให้คลุมส่วนคอจนถึงไหล่ การทำหน้ากากผีตาโขนเป็นงานศิลปะพื้นบ้าน ที่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีรูปแบบที่หลากหลายตามจินตนาการของผู้ทำและตามอิทธิพลต่างๆ ที่ได้รับ แต่ก็ยัง คงรักษาเอกรักษ์ของความเป็นผีตาโขน ไว้ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนิยมนำกระดาษที่มีสีสันมาตกแต่ง
สมุดไทย เป็นหนังสือของไทยโบราณที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมิได้เย็บเป็นเล่มเหมือนหนังสือในปัจจุบัน ใช้กระดาษยาวติดต่อกันเป็นแผ่นเดียวพับกลับไปกลับมาเป็นเล่มหนาหรือบาง กว้างหรือยาวเท่าใดก็ได้ตามแต่ความต้องการของผู้ใช้ ส่วนมากการเขียนหนังสือนั้น ในสมัยก่อนนิยมเขียนใต้เส้นบรรทัด การเขียนหนังสือบนเส้นบรรทัดเพิ่งจะมานิยมกันในสมัยที่ตัวอักษรโรมันเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณปลายรัชกาลที่ ๓ วัสดุที่ใช้เขียนมีหลายอย่าง เช่น ดินสอขาว น้ำหมึก ซึ่งมีสีดำที่ทำจากเขม่าไฟหรือหมึกจีน สีขาวทำจากเปลือกหอยมุก สีแดงทำจากซาด สีทองทำจากทองคำเปลว และสีเหลืองทำจากส่วนผสมของรงและหรดาล สมุดไทยมีความแตกต่างกันในตัวของมันเอง เป็นเหตุ ให้เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เรียกชื่อตามประโยชน์ที่ใช้ ได้แก่ สมุดถือเฝ้า สมุดรองทรงและสมุดไตรภูมิ เรียกชื่อตามสีของเส้นอักษร ได้แก่ สมุดดำ เส้นขาว สมุดดำเส้นหรดาล สมุดเส้นรง และสมุดเส้นทอง อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้ว เพราะอุปกรณ์การเขียนสมัยใหม่หาได้ง่ายและราคาถูกและมีการผลิตจำนวนมากสำหรับใช้กันทั่วโลกจึงได้รับความนิยมกันโดยทั่วไป ทำให้การเขียนแบบเก่าในสมุดไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมสำคัญของไทยเราค่อย ๆ ลบเลือนไป
ร่ม เป็นเครื่องใช้สอยอย่างหนึ่งสำหรับกันแดดและฝน ซึ่งรู้จักใช้กันมานานแล้ว มีโครงทำด้วยไม้ไผ่ ปิดด้วยกระดาษสา ส่วนหัวหรือตุ้มร่มทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ซึ่งสะดวกแก่การกลึงและผ่าร่องซี่ของร่ม ซี่ร่มทำด้วยไม้ไผ่ ส่วนคันร่มนั้นใช้ไม้เนื้ออ่อนกลึงหรือทำด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็ก ด้ามร่มพันด้วยเส้นหวายผ่าซีกขนาดเล็ก ปลอกสวมหัวร่มใช้ใบลานหรือกระดาษหนา ห่วงร่มทำจากเส้นตอกไม้ไผ่ขดเป็นวงกลมและพันด้วยกระดาษสาโดยรอบ ส่วนครอบหัวร่มทำด้วยแผ่นสังกะสี เมื่อชาวบ้านทำเสร็จแล้วจะนำไปจำหน่ายในเมือง ร่มมีทำกันมากที่ตำบลบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
สายรุ้งเป็นแถบกระดาษสีต่างๆ ขนาดเล็กและยาว ใช้ขว้างแสดงความรื่นเริง หรือใช้ตกแต่งสถานที่โดยโยงติดกับตัวอาคาร ส่วนธงเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนมากมีรูปร่างสามเหลี่ยมหน้าจั่วและสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีต่างๆ กัน มักใช้ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ที่มีลักษณะชั่วคราว มีก้านทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้จริงเป็นด้ามกลมหรือสี่เหลี่ยม
ใส่ความเห็น